คีโต (Keto Diet) หรือ คีโตเจเนติก ไดเอ็ต (Ketogenic Diet) หนึ่งในกระแสมาแรงจากต่างประเทศหลังปี 2016 ทำให้ทั้งกลุ่มผู้ออกกำลังกาย เทรนเนอร์ นักกีฬา นักเพาะกาย หมอ นักข่าว รวมถึงพวกนักการตลาด ต่างต้องรีบจับกระแสให้ทัน แน่นอนกระแสมาในไทยเช่นกัน (แต่ปี 2018 ค่อนข้างดังแบบแง่ลบ) แล้วเจ้าคีโต มันแย่แบบที่สื่อและโซเชียลไทยแลนด์ กล่าวถึงหรือเปล่า ? ในที่นี้ มาทำความรู้จักกับคีโตแบบคร่าวๆ กันก่อน Keto Diet คือ อะไร Ketogenic Diet เป็นการลดน้ำหนักรูปแบบหนึ่ง ที่ได้สุขภาพด้วย มีหลักการทานอาหารแบบ “ เน้นไขมัน ลดโปรตีน คาร์โบไฮเดรตต่ำสุด ” และคุมแคลอรี่ระดับหนึ่ง อธิบายเข้าใจง่ายแบบกระชับ ก่อนอื่นทำความเข้าใจสิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันมานาน 2 เรื่องก่อน โปรตีนเป็นแหล่งพลังงาน ? ถูกสอนมาผิดครับ พลังงานโปรตีนร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง ซ้ำร้าย คือ ยิ่งกินโปรตีนเยอะ สามารถเพิ่มปริมาณอินซูลินได้อีก คนไดเอ็ตแบบกินแต่โปรตีนไม่กินทั้งไขมันและแป้ง ทำให้หิวมากขึ้นได้ มีสองอย่างที่ร่างกายดึงไปใช้ได้ คือ คาร์โบไฮเดรต และ ไขมัน ไขมัน คือ ต้นเหตุในการเพิ่มไขมัน ? จริงบางส่วน แต่ไม่โหดเท่าอี
คำถามโลกแตกเกี่ยวกับ Intermittent Fasting (IF) คือ อันตรายหรือไม่ ? แค่ชื่อก็น่ากลัวแล้ว บางคนเรียกว่า “การอดอาหารเป็นพักๆ” (แต่จะฟังดูดีขึ้น ถ้าเปลี่ยนจาก อด เป็น ลด) ในความจริง IF เป็นการอดอาหารบางมื้อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของฮอร์โมนบางตัวในร่างกายให้ทำงานดีขึ้น ถ้าทำแบบไม่ฝืนจะมีแต่ข้อดี แต่ก็มีคนจริงจังเกินไป จนเกิดผลเสีย เป้าหมายของ IF เพื่อสุขภาพ ถ้าเข้าใจหลักการจะมีความปลอดภัยมากขึ้น Intermittent Fasting อันตรายหรือไม่ ? ขึ้นกับความเข้าใจครับ ส่วนตัวผมคงตอบได้เต็มปากว่า “ไม่มีความอันตราย เป็นพิเศษ ” เพราะเป็นการปรับพฤติกรรมการกิน ให้สอดคล้องกับความต้องการของร่างกาย โดยหลักสำคัญสุดของ IF ที่ผู้เชี่ยวชาญรวมถึงแพทย์เฉพาะทาง ส่วนใหญ่ย้ำ คือ “สุขภาพ ต้องมาก่อน การลดน้ำหนัก” เสมอ ไม่ไหวก็หยุด ทางเลือกลดน้ำหนักมีหลายวิธี คนที่ใช้ IF แล้วเกิดปัญหาเท่าที่เห็น รีบอดอาหาร ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนเกิดโรคกระเพรา ไม่คำนวณพลังงาน จนสมองล้าตอนทำงาน งานเครียดมาก กระตุ้นต่อมความหิว กินโปรตีนแทน คาร์โบไฮเดรต และ ไขมัน (ซึ่งร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานโปรตีน) กลายเป็นต้องการพลังงาน เห็นเพ